ท่าวังตาลน่าอยู่ มุ่งเน้นธรรมาภิบาล บริการอย่างมีคุณภาพ *** อุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน 053-141775 / ร้องเรียนทั่วไป 053-140981-2 ต่อ 100 / ผุ้ป่วยฉุกเฉิน - กู้ชีพ 1669 / ตำรวจ - ฉุกเฉิน 191 / ดับเพลิง -กู้ภัย 199 ***

ที่อยู่เทศบาลตำบลท่าวังตาล

149/1 หมู่ 2 ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ 50140

โทรศัพท์ 053-140-981-2

งานป้องกันฯ 053 141 775

อีเมล์ saraban-thawangtan@lgo.mail.go.th

President

นางวิมลรัก ตนซื่อ

นายกเทศมนตรี
ตำบลท่าวังตาล

สายด่วน 091-0685389

President

นายภาคภูมิ เชื้อสาวะถี

ปลัดเทศบาล
ตำบลท่าวังตาล

091-065-0515

สายด่วนนายก 093-130-3409

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (EIT)

ช่องทางการตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (IIT)

แบบประเมินความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานของเทศบาลตำบลท่าวังตาล

เกี่ยวกับเทศบาล » ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของตำบลท่าวังตาล

ตำบลท่าวังตาล ได้พัฒนาการมาจากชุมชนโบราณสถานเวียงกุมกาม ซึ่งพญามังรายทรงสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1837 ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนยาวตามลำน้ำปิงสายเก่า ตัวเมืองวางแนวทแยงทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ตะวันตกเฉียงเหนือ โดยกำแพงด้านเหนือเลียบปิงห่าง การวางผังเมืองในแนวทแยงคงช่วยชะลอการส่งน้ำจากแม่น้ำเข้าคูเมือง เพื่อมิให้น้ำไหลแรงจนทำให้คูเมืองเสียหาย หลังจากพญา    มังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ เวียงกุมกามจังมีฐานะเป็นพันนากุมกาม จนกระทั่งสมัยธนบุรี ชื่อของพันนากุมกามได้หายไป แต่กลับปรากฎเป็นชื่อ “ท่าวังตาล” เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงกองทัพธนบุรีมาช่วยพระยาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละต่อสู้กับพม่า (พ.ศ. 1317) ซึ่งยึดครองเมืองเชียงใหม่ โดยสู้รบกันที่ท่าวังตาล ในสมัยพระเจ้ากาวิละ ท่าวังตาลเป็นท่าน้ำที่สำคัญแห่งหนึ่ง เมื่อพระเจ้ากาวิละเดินทางกลับจากกรุงเทพฯ พระเจ้ากาวิละจะขึ้นเรือที่ท่าวังตาล เช่นกัน ท่าวังตาลจึงเป้นท่าน้ำสืบมาจนกระทั่งการคมนาคมทางน้ำหมดความสำคัญลง ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาวิโลรส สุริยะวงค์ และสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ ได้ใช้สถานที่นี้เป็นที่ประหารชีวิตนักโทษเมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันคือ สุสานท่าวังตาล ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่

 

อัตราค่าบริการท่องเที่ยว ค่าเข้าชมศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม ท่านละ 10 บาท

 

ติดต่อได้ที่ศูนย์ข้อมูลเวียงกุมกาม เบอร์โทรศัพท์/แฟกซ์ 053-140322

 

รถม้า คันละ 300 บาท

รถราง

1 – 10 คน คันละ 400 บาท
11 – 20 คน คันละ 500 บาท
นักเรียน 20 คน คันละ 350 บาท

จุดท่องเที่ยว มีทั้งหมด  10 จุด

ใช้เวลาประมาณ 45 นาที ถึง 1 ชั่วโมง

 

ลิงค์ภายนอก